เชื้อราแมว การติดเชื้อราในแมว

จากกระแสเพจ หมอแล็บแพนด้า ได้แชร์ภาพอาการของเจ้าของที่มีอาการคล้ายกับการเป็นเชื้อราที่ติดจากน้องแมว เรามาตรวจเช็คน้องแมวเราดีกว่าว่ามีอาการเหล่านี้หรือเปล่า

  • มีวงขนร่วงเป็นวงกลม สีแดง ขอบหนาตัว มีสะเก็ด
  • ผิวหนังมีสะเก็ดรังแค
  • เส้นขนแห้ง หยาบ เปราะแตกง่าย
  • เกา หรือ เลีย​ ที่บริเวณผิวหนังจนผิวหนังอักเสบ
  • เล็บเปราะ แตกง่าย เป็นสะเก็ด ผิดรูป

หากมีอาการดังกล่าว แสดงว่าเจ้านายเหมียวของท่านมีโอกาสจะเป็นโรคเชื้อรา หรือที่เรียกกันว่า ” Ringworm “ นั่นเอง
เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่ม Dermatophyte ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดรอยโรคผิวหนังในแมวทุกตัวที่สัมผัสเชื้อ แมวกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ลูกแมวอายุน้อย แมวแก่อายุมาก แมวป่วย แมวที่เป็นโรคที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของผิวหนัง แมวที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง แมวเครียด

เชื้อราในแมวเป็นโรคที่ติดต่อกันโดยผ่านการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม และสามารถติดต่อกันได้ทั้งในหมู่สัตว์เลี้ยง (เช่น สุนัข, แมว เป็นต้น) แถมยังติดต่อจากสัตว์สู่คนได้อีกด้วย

รอยโรคการติดเชื้อราในคน มีความคล้ายคลึงกับในแมว คือ ช่วงแรกจะพบลักษณะของตุ่ม/ผื่นแดง จากนั้นจะค่อยๆลามออกไปจนมีลักษณะเป็นวงสีแดง ขอบนูนเล็กน้อย มีขอบเขตชัดเจน อาจพบตุ่มน้ำหรือขุยสีขาวอยู่รอบๆ มักมีอาการคันเล็กน้อย

หากสงสัยว่าเจ้านายเหมียวของท่านมีโอกาสจะเป็นโรคเชื้อรา ควรพามาพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี หากปล่อยทิ้งไว้นานจนการติดเชื้อลุกลาม จะทำให้รักษายาก ใช้เวลานาน และยังอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปยังคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆอีกด้วย

เครดิต.
ขอบคุณความรู้ดีๆจาก…หมอสพ.ญ.นันทรัตน์ เต็มโชคทวีทรัพย์
โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน
หมอแล็บแพนด้า

 

เชื้อราแมว

คือ เชื้อราที่ทำให้แมวเป็นโรคผิวหนัง แมวที่ติดเชื้อจะมีขนหลุดออกมาเป็นหย่อมๆ ผิวหนังแดง แห้ง ลอกเป็นขุยๆ และมีการตกสะเก็ดร่วมด้วย ซึ่งผู้ที่ชอบสัมผัสกับแมวโดยไม่ทำความสะอาดหลังจากสัมผัสมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ นอกจากแมวแล้ว สัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เช่น สุนัข แฮมสเตอร์ ก็สามารถพบการติดเชื้อรานี้ได้ เช่นกัน

อาการของผู้ติดเชื้อราแมว

1.ผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ทั้งวงเล็กและวงใหญ่
2.มีขุยขึ้นตามบริเวณรอบๆผื่นแดง
3.มีอาการคันตามผื่นแดง
4.อาจเกิดผื่นแดงเพิ่มขึ้นเมื่อเกาที่บริเวณผื่นแดง และไปสัมผัสจุดอื่นๆบนร่างกาย
5.หากมีการติดเชื้อที่หนังศีรษะอาจพบเส้นผมในบริเวณที่ติดเชื้อร่วงเป็นหย่อม

วิธีรักษาเชื้อราแมวในผู้ป่วย

สำหรับที่ผิวหนัง
ให้ทายาฆ่าเชื้อราที่ได้รับจากคุณหมออย่างต่อเนื่องโดยอาการต่างๆจะดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์
หากพบผื่นจำนวนมาก แพทย์อาจให้รับประทานยาต้านเชื้อราควบคู่กับการทายาฆ่าเชื้อราไปด้วย

สำหรับการติดเชื้อบนหนังศีรษะ ควรรับประทานยาต้านเชื้อราตามที่คุณหมอสั่งอย่างต่อเนื่องการใช้ยาทาหรือแชมพูเชื้อราเพียงอย่างเดียวอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาไม่เพียงพอ

วิธีการป้องกันตัวจากเชื้อราแมว

1.หากแมวเป็นโรคผิวหนัง บนผื่นหรือรอยแดงที่ผิวหนัง ควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษา และหลีกเลี่ยงการสัมผัสแมวที่เป็นโรคผิวหนังจนกว่าจะหาย
2.ไม่ควรคลุกคลีกับสัตว์ที่เลี้ยงในระบบเปิดอย่างใกล้ชิดมากจนเกินไป เช่น นำสัตว์เลี้ยงมานอนด้วย ให้สัตว์เลี้ยงเลียหน้าหรือปาก
3.ดูแลความสะอาดของสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ เช่น เป่าขนให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำ
4.หลังสัมผัสหรือใกล้ชิดสัตว์เลี้ยง ควรทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสสัตว์เลี้ยงทันทีทุกครั้ง
5.นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อรา
6.ทำความสะอาดสิ่งของภายในบ้านที่สัตว์เลี้ยงสัมผัส เช่น โซฟา โต๊ะ ผ้าห่ม เป็นประจำ

 

การรักษาเชื้อราแมวในแมว

วิธีการวินิจฉัยโรคเชื้อราที่ดีที่สุดคือ การพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อมองหาสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อราในเเมว ว่าติดมาจากเเมวด้วยกัน หรือ ติดจากสัตว์ exotic จำพวกหนูหรือกระต่ายที่อาจเลี่ยงในสิ่งเเวดล้อมเดียวกัน หรือเเม้กระทั่งเป็นเชื้อราที่ติดมาจากดิน  หากสามารถทราบได้เเล้ว คุณหมอจะเริ่มให้การรักษาโดยมีการรักษาทั้งเบบเฉพาะที่ (ยาทา สเปรย์ยา น้ำยาทำความสะอาด รวมไปถึงแชมพูฆ่าเชื้อรา) เเละการรักษาเเบบทางระบบหรือก็คือการรักษาโดยใช้ยากินนั่นเอง ซึ่งในการรักษาเชื้อรา เเต่ละกรณีสัตวแพทย์ให้การรักษาที่แตกต่างออกไป ตามเเต่ลักษณะของรอยโรคที่พบ

โดยมากสัตวแพทย์ อาจจะแนะนำให้น้องเเมวตัดขนให้สั้น เพื่อลดปริมาณขนที่ติดเชื้อและลดการปนเปื้อนของสปอร์ที่อยู่บนเส้นขนในสิ่งแวดล้อม ร่วมกับการใช้ยาทาเฉพาะที่ หรือสเปรย์ หรือ แชมพูอาบน้ำที่มีส่วนประกอบของตัวยา ketoconazole สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยมีคำเเนะนำว่าในการใช้เเชมพูยา ควรให้มีระยะเวลาในการสัมผัสของเเชมพูกับตัวน้องแมว อย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา นอกจากนี้สัตวแพทย์อาจจ่ายยากินเพื่อรักษาอาการโรตผิวหนังจากเชื้อรา โดยนิยมให้ยา itraconazole เเบบกิน ซึ่งมีทั้งรูปแบบยาน้ำ เเละยาแคปซูล ร่วมไปกับการรักษาเฉพาะที่ เช่นยาทา หรือยาอาบ ด้วยก็ได้ ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของการให้ยา ระดับภูมิคุมกันของน้องเเมวเเต่ละตัว รวมไปถึงเพื่อนสัตว์เลี้ยงอื่นๆในสิ่งแวดล้อมหรือในบ้านเดียวกันด้วย  ในกรณีที่มีแมวป่วยในบ้านมากกว่า 1 ตัว อาจติดซ้ำกลับไปมา จึงอาจใช้ระยะเวลาในการรักษานานถึง 3-6 เดือนเลยทีเดียว
ให้ยากับน้องแมวกินตามที่สัตวแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
หากแมวมีอาการเบื่ออาหาร ซึม ควรหยุดยากินและพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
พาน้องแมวไปรับการตรวจร่างกายตามที่สัตวแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

 

 

เครดิตข้อมูล
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากากาดไทย
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ

 

 

 

มารู้จักกับ…เชื้อราในแมว

เชื้อราในแมว

โรคผิวหนังที่มักจะพบกันบ่อยในแมว คือผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา (Dermatophytosis) ซึ่งเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคที่พบได้บ่อยๆ จะเป็นเชื้อราชนิด Microsporum canis บางครั้งจะพบ Trichophyton mentagrophyte หรืออาจเป็น Micrsporum gypsums ซึ่งพบได้จากสุนัขปกติ แต่หากผิวหนังบาดเจ็บหรือถูกทำลาย จะโน้มนำให้ติดเชื้อรากลุ่มนี้ง่าย

ปัจจัยโน้มนำที่ทำให้ติดเชื้อราในแมว

คือ สภาพแวดล้อมที่ร้อนชื้น, สัตว์อายุน้อย, แมวขนยาว, ระบบภูมิคุ้มกันถูกกด (Feline leukemia virus หรือ Feline immunodeficiency virus) หรือการให้ยาต่างๆ เช่นกลุ่ม สเตียรอยด์ โดยเชื้อราจะพบได้จากสัตว์ที่เคยติดเชื้อ หรือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หวีแปรงขน หรือเบาะรองนอน

อาการที่พบเชื้อราในแมว

ในแมวที่ติดเชื้อราที่ผิวหนัง คือจะมีอาการคัน ขนร่วงเป็นวงๆ (ringworm) และผิวหนังเป็นสะเก็ดรังแค

ในการวินิจฉัยเชื้อราในแมว

สัตวแพทย์อาจจะถามประวัติการเลี้ยง เช่นแมวที่บ้านเคยเป็นหรือไม่ รวมถึงคนและสัตว์ในบ้าน มีความผิดปกติของผิวหนังหรือเปล่า เพราะเชื้อราจะสามารถติดต่อจากแมว ไปยังสัตว์เลี้ยงอื่นๆ รวมถึงผู้เลี้ยงได้ง่าย
วิธีวินิจฉัยอื่นๆ เช่น การนำขนหรือสะเก็ดผิวหนังบริเวณนั้น ไปเพาะเชื้อรา (Dermatophyte test medium) หรือการตรวจโดยใช้แสงสีม่วง (Wool’s lamp) หากให้ผลบวก จะเห็นเป็นสารเรืองแสงสีเขียว และอีกหนึ่งวิธีการตรวจ คือการขูดผิวหนัง มาส่องกล้องเพื่อดูสปอร์ของเชื้อรา

ในการรักษาแมวที่เป็นผิวหนังอักเสบจากเชื้อราในแมว

สัตวแพทย์มักจะแนะนำตัดขนให้สั้น เพื่อลดปริมาณขนที่ติดเชื้อและลดการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม โดยยาจะมีทั้งยากินกลุ่ม ketoconazole หรือ itraconazole และรักษาร่วมกับการรักษาเฉพาะที่ คือการอาบน้ำยาสำหรับสุนัขหรือแมวที่เป็นเชื้อราโดยเฉพาะ ระยะเวลาในการรักษาแมวที่ติดเชื้อรา อาจจะนานถึง 3 เดือนเลยทีเดียว

ฟังแล้วน่ากลัวไม่ใช่น้อยเลยนะสำหรับเชื้อราในแมว เพราะฉะนั้นถ้าสงสัยว่าแมวที่เลี้ยงติดเชื้อรา รีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเลย เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว