โรคร้าย…ที่มากับฝน !!

ช่วงนี้ฝนตกหนัก อย่าลืมดูแลสุนัขและแมวของเราให้ดีกันนะ… ฝนตกแบบนี้อากาศมักชื้นแฉะ และเป็นปัจจัยที่จะทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยได้ง่ายกว่าปกติค่ะ วันนี้เรามารู้จักโรคหลักๆที่พบบ่อยในหน้าฝน รวมถึงภัยร้ายที่มักแอบแฝงมาโดยที่เราไม่ทันคาดคิด เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยที่ดีให้เจ้าสี่ขาของเรากัน

  1. โรคในระบบทางเดินหายใจ

โรคระบบทางเดินหายใจหรือที่เรารู้จักกันว่าเป็นหวัดนั่นเองอากาศชื้นๆแบบนี้ ยิ่งถ้าบางตัวชอบไปเล่นน้ำอีก จะเป็นหวัดได้ง่าย อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ง่ายจะเริ่มจาก ซึม ไม่กินอาหาร มีน้ำมูก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาและพาน้องๆไปพบคุณหมอทันที ยังไงก็ตามการป้องกันเบื้องต้นที่เราสามารถทำได้คือการลดการสัมผัสกับน้ำ เช่น ปิดประตูห้องน้ำเพื่อไม่ให้นอนแช่น้ำ เป็นต้น รวมถึงการหาเสื้อให้ใส่เพื่อเพิ่มความอบอุ่นในกรณีที่นอนในห้องแอร์ และหมั่นเช็ดตัวน้องๆให้แห้ง

  1. โรคผิวหนัง

โรคนี้มาพร้อมกับความอับชื้น เป็นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเหนี่ยวนำให้เกิดผิวหนังอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ง่าย นอกจากนี้ความชื้นยังเป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนังได้ด้วย อาการที่พบบ่อย คือ พบตุ่มหนองใต้ท้อง ขนร่วง คัน เป็นผื่นแดง เป็นต้น ซึ่งมักพบในบริเวณที่เป็นจุดอับชื้น เช่น ง่ามเท้า ขาหนีบ รักแร้ หรือ ตามง่ามหน้าของสุนัขพันธุ์ที่มีรอยพับของผิวหนังมาก การมีอาการดังกล่าวบ่งชี้ถึงการมีความผิดปกติที่ผิวหนังเกิดขึ้น โดยเริ่มแรกเจ้าของอาจเริ่มจากการใช้แชมพูฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอาบน้ำให้น้องๆก่อน ร่วมกับการหมั่นเช็ดทำความสะอาดตามบริเวณจุดอับชื้นตามตัว รวมถึงป้องกันการเกา เลีย แทะ บริเวณที่คัน อาจใช้การใส่ปลอกคอกันเลีย หรือสวมเสื้อให้ แต่หากไม่ดีขึ้นแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอ เนื่องจากโรคผิวหนังบางอย่างอาจไม่ได้มาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว การเกิดภาวะภูมิแพ้อาหาร หรือภาวะภูมิแพ้ต่อสิ่งแวดล้อม  ก็สามารถเกิดร่วมกันได้ ดังนั้นการคุมการติดเชื้ออย่างเดียวอาจไม่ได้ผล

  1. เห็บ-หมัด

เจ้าปรสิตพวกนี้โดยปกติก็มีบทบาทก่อกวนในชีวิตประจำวันมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะในประเทศไทยของเราที่มีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น ยิ่งฝนตกอากาศเหมาะๆ เห็บยิ่งแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว และควบคุมได้ยากอีกด้วย ยังไงก็ตามควรพาน้องๆ มาที่คลินิกเพื่อป้องกันและกำจัดเห็บหมัดเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้การใส่ปลอกคอป้องกันเห็บก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง อีกทั้งเราควรควบคุมเห็บในสิ่งแวดล้อมที่สุนัขอยู่อาศัยควบคู่ไปด้วย โดยการใช้น้ำยาฆ่าเห็บผสมน้ำถูพื้น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามผนังบ้านก็ได้

  1. สัตว์มีพิษ

เมื่อฝนตกหนักจึงอาจพบการท่วมขังของน้ำได้มากขึ้น การท่วมขังของน้ำนี้อาจส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น คางคก งู ตะขาบ แมงป่อง เป็นต้น ทำให้ต้องออกมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยของตัวเอง เพื่อมาหาที่อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งสัตว์เหล่านี้มักเป็นที่สนใจแก่น้องสุนัขและแมวของเรา เนื่องด้วยมีการเคลื่อนไหวที่แปลกตา น้องสุนัขและแมว ที่ชอบความกระดุกกระดิกของพวกมัน รวมถึงความอยากรู้อยากลองเปิดประสบการณ์ใหม่ไม่สิ้นสุดของเจ้าสี่ขาเหล่านี้ อาจนำมาซึ่งภัยอันตรายอย่างไม่ทันได้คาดคิดได้

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นหากสุนัขและแมวโดนกัดคือ อาจพบการบวมแดงบริเวณตำแหน่งที่โดนกัด พบเลือดออกจากบาดแผล พบเหงือกซีด หรืออาจถึงขั้นหมดสติอย่างเฉียบพลันโดยที่เราไม่ทราบสาเหตุ  และอาจนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้หากพบสัตวแพทย์ไม่ทัน

อย่างไรก็ตามโรคและภัยร้ายที่กล่าวมา สามารถป้องกันได้ด้วยการสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิดของเราอย่างสม่ำเสมอ และการเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ เพราะความผิดปกติบางอย่างเจ้าของอาจไม่ทันได้สังเกตเห็น

 

เครดิต สพ.ญ.นพวรรณ ศรีเจริญ
โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์

การป้องกันสัตว์เลี้ยง ช่วงหน้าฝน

ช่วงหน้าฝน ฝนตกทุกวันแบบนี้ เพื่อนๆมีวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างไรกันบ้าง มาแชร์กันหน่อย วันนี้ทาง petsayhi จะมาบอกวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงช่วงหน้าฝนกัน ช่วงหน้าฝนอากาศเปลี่ยน ทั้งฝนตกและความชื้นต่าง ๆ บางทีร่างกายของสัตว์เลี้ยงอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้เจ็บป่วยหรือมีปัญหาด้านผิวหนังได้ เช่นกัน

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ

ในช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่มีภาวะแวดล้อมต่างๆ เหมาะสมในการเพาะตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อโรค ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่มักมากับหน้าฝน ต้องไม่ลืมที่จะพาน้องหมาน้องแมวไปทำวัคซีนป้องกันเชื้อโรคกันนะ โดยเฉพาะน้องหมาน้องแมวที่อายุยังน้อย ยิ่งมีความเสี่ยงสูง

 ดูแลเรื่องอาหารและน้ำของสัตว์เลี้ยง

อากาศที่เปียกชื้นในหน้าฝนจะทำให้อาหารของน้องหมาเกิดการบูดเสียและเกิดเชื้อราได้ง่าย หากใครที่ให้อาหารเม็ด ก่อนจะให้อาหารควรตรวจเช็คให้เรียบร้อยว่าอาหารเม็ดไม่เก่า ไม่ขึ้นรา หรือใครที่ให้อาหารเป็นแบบปรุงเอง ก็ควรทำให้สุกสะอาด ไม่ปล่อยค้างคืน หากสัตว์เลี้ยงที่บ้านเกิดอาการ อาเจียน ท้องเสีย ซึม ก็ควรพาไปพบแพทย์อย่าปล่อยให้น้องมีอาการนานเกินไป

กรงหรือที่อยู่ของน้องหมาต้องไม่เปียกชื้นและไม่อับ

ที่อยู่ของน้องหมาควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก หากบริเวณที่อยู่ของน้องหมาเปียกชื้นควรเช็คให้แห้ง และพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนสาด ทั้งนี้ อาจนำไปสู่ปัญหากลิ่นอับ และทำให้น้องตากฝนไม่สบายได้

 

ระวังเรื่องการ ตากฝนของสัตว์เลี้ยง

การปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝน ไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไร อาจทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยเป็นโรคหวัดหรือปอดบวมได้ อีกทั้งในช่วงหน้าฝน เป็นช่วงที่เห็บหมัดระบาด เมื่อออกไปข้างนอกมีโอกาสที่ติดเห็บหมัดมาด้วย นับว่าเป็นพาหะนำโรคทั้งในแมวและสุนัข จึงควรระมัดระวังอย่าให้สัตว์เลี้ยงตากฝนจะดีกว่า

ดูและผิวหนังของสัตว์เลี้ยงให้ดี

ระบบผิวหนัง ช่วงที่มีความชื้นสูงในหน้าฝน อาจทำเกิดสภาวะอับชื้นก็เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย ซึ่งอาจจะมีตุ่ม ผื่นคัน ยิ่งถ้ามีการติดเชื้อก็จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ หรือเชื้อราได้ ซึ่งจะพบได้บ่อยตามบริเวณใบหูด้านใน ง่ามนิ้วเท้า รอบจมูกหรือรอบตา ควรจะหมั่นดูแลเรื่องผิวหนัง ขน ของเขาให้แห้งอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เปียก หรือชื้น หากพบว่าสุนัขมี ตุ่มคัน เกา สะบัดหูบ่อย ๆ ควรจะรีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะกลายเป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานาน รวมถึงต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและดูแลในปริมาณที่สูงตามมา

 

ระวังเห็บและหมัด

อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุนัขและแมวป่วย  เพราะเห็บเป็นพาหะนำโรค เช่น พยาธิในเม็ดเลือดหรือไข้เห็บ โลหิตจาง และ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ยิ่งช่วงหน้าฝน ที่มีทั้งความร้อน ความชื้น ยังเป็นตัวการแพร่พันธุ์เห็บอย่างดี ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยงให้ดีถ้าพบสัตว์เลี้ยงของเรามีเห็บหรือหมัด ควรหายากำจัดเห็บหมัดมาใช้ หรือพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

ลดความเครียดให้สัตว์เลี้ยง

เมื่อฝนตก ฟ้าร้อง หรือ ฟ้าฝ่า เราควรพาสัตว์เลี้ยงมาไว้ใกล้ตัว เพื่อสร้างความอุ่นใจให้พวกเขาค่ะ เพราะเวลาฝนฟ้าคะนองเสียงดัง อาจทำให้สัตว์เลี้ยงของเราเกิดอาการเครียด และกลัวเสียงดังกล่าว เราจึงควรพาเขามาอยู่ใกล้ๆ หรือ เปิดทีวีเพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจก็ได้

เพื่อนๆคนไหนมีวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงช่วงหน้าฝน มาแชร์กันได้นะครับ

เครดิตรูปภาพ
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Golden_retriever_dirty.jpg
https://pixabay.com/th
http://maxpixel.freegreatpicture.com

เครดิตข้อมูล

สุขภาพดี สร้างได้ด้วยตัวคุณ