ทำไมสุนัขถึงเห่า และจะแก้ปัญหาได้อย่างไร

คุณทราบหรือไม่ว่าผู้ที่ทำให้สุนัขในธรรมชาติซึ่งปกติไม่เห่า กลายมาเป็นสุนัขบ้านจอมเห่าก็ไม่ใช่ใคร ก็คือมุนษย์เรานี้เอง ดังนั้นการที่เราจะรู้สึกไม่ชอบสุนัขที่บ้านเห่าก็ดูจะไม่ถูกต้องนัก

ก่อนอืนจะขอเสนอเกี่ยวกับว่า

ทำไมสุนัขถึงเห่า และจะแก้ปัญหาได้อย่างไร

1.การเห่าในสุนัขของการเฝ้าระวัง (เพื่อรักษาพื้นที่ของตัวเอง)

สุน้ขนั้นมีจิตสำนึกในการรัษาพื้นที่ของตนสูงมาก อย่างเช่น  คนที่เดินผ่าน หรือบุรษไปรษณีย์ อาจจะเดินผ่านโดยไม่เกี่ยวกับเสียงเห่าของสุนัขเลยก็ได้แต่สำหรับสุนัขแล้วจะคิดว่าเพราะว่าเค้าเห่าพวกคนร้ายเลยหนีไป ซึ่งเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้ตัวเอง สำหรับรอตไวเลอร์ โดเบอร์แมน เวสท์ไฮแลนด์ไวท์เทอเรีย มินเชา ชเนาเชอร์ จะมีจิตสำนึกในส่วนนี้ค่อนข้างจะสูงมาก โดยเฉพาะสามพันธุ์แรกนั้นเลี้ยงไว้สำหรับเป็นสุนัขเฝ้าบ้านโดยเฉพาะ ซึ่งหน้าที่ของสุนัขเฝ้าบ้านอันดับแรกๆก็คือการเห่าเพื่อปกป้องพื้นที่อยู่แล้ว

2.การเห่าอย่างไม่มีความหมายในระหว่างที่ไม่มีใครอยู่บ้าน

คนไทยส่วนใหญ่คงคิดว่าน้องเห็นสิ่งลึกลับ….แต่เปล่าเลย สุนัขที่เห่าอย่างไร้ความหมายมากๆ ได้แก่ ยอร์คเชียเทอเรีย มินิเชา ชเนาเซอร์ เวสท์ไฮแลนด์ไวท์เทอเรีย เป็นต้น

3.เห่าเพื่อเรียกร้อง

สุนัขเมื่อเห่าออกมาเพราะจงใจหรือเห่าแบบนานๆที่ก็ตาม เมื่อเจ้าของให้สิ่งที่เค้าต้องการแล้ว จะทำให้ต่อไปเวลาเค้าอยากจะได้อะไรก็เห่า เพื่อเรียกร้อง แม้แต่ สุนัขในข้อ 1-2 ซึ่งเห่าตามสัญชาตญาณอยู่แล้วก็อาจเห่าในลักษณะนี้ได้ สุนัขที่มีปัญหาลักษณะนี้ ส่วนใหญ่ คือ ลาบราดอร์  โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ แต่ตามปกติสุนัขกลุ่มนี้จะมีจุดเด่นที่ความสงบเสงี่ยมอยู่แล้ว ดังนั้นจึงคิดว่าจ่าจะเป็นปัญหาในการฝึกสุนัขมากกว่า

จะทำอย่างไรให้สุนัขเลิกเห่า

1. เลือกพันธุ์ที่เหมาะสม

ก่อนอื่นหากคิดว่าสุนัขของเราจะก่อปัญหาให้คนที่เดินผ่านไปมาหน้าบ้านได้ ก็ให้เลือกพันธุ์ที่ไม่ค่อยเห่า รวมทั้งตรวจสอบไปถึงลักษณะของแม่สุนัขด้วย การที่สุนัขจะเห่านั้นจะอยู่ที่พันธุ์สุนัขสายเลือดและแม่สุนัขด้วย

2.ให้สุนัขได้รู้จักสังคมอย่างเพียงพอ

จุดนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับ การเห่าเพื่อเรียกร้องก็ตามแต่จะเกี่ยวกับการเห่าเพื่อปกป้องพื้นที่และการเห่าแบบไร้ความหมาย พูดง่ายๆการที่ให้สุนัขได้ออกไปรับฟังเสียงและแหล่งที่กำเนิดเสียงต่างๆ ให้ชินเสียตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข หากเริ่มตั้งแต่สองสามวันแรกที่พาสุนัขมาบ้านให้เกิดความเคยชินก็จะทำให้รู้สึกว่าเสียงรอบๆ ตัวไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมแต่อย่างใดก็จะช่วลดความตื่นตระหนกในจิตใจของสุนัขลงไปได้

3.การไม่ยอมรับการเป็นผู้นำของเจ้าของ

การเลี้ยงสุนัขที่สำคัญที่สุดคือ การทำให้สุนัขเข้าใจว่าตังเองอยู่ในฐานะที่ต่ำที่สุดในบ้าน หากสุนัขเข้าใจตรงนั้นได้ก็จะยอมรับในสิทธิความเป็นผู้นำของเจ้าของไม่แสดงพฤติกรรมต่อต้านใดๆ

 

 

เครดิตข้อมูล
คู่มือฝึกสุนัขสำหรับมือใหม่

การเห่าของสุนัขบอกอะไรเรา มาลองสังเกตกันเลย

บางทีเรามักจะเห็นสุนัขแสดงออกด้วยการ “เห่า” อยู่บ่อย ๆ แต่การเห่านั้นเราเองก็ไม่อาจจะเข้าใจได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น สุนัขต้องการจะบอกอะไรเราหรือเปล่า หรือเพียงแค่ต้องการจะเห่าลมเห่าแล้งไปเท่านั้น แต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป อย่าลืมว่าภาษาของสุนัขไม่เหมือนคนเราการจะบอก พูด เล่า เรียก ตะโกน การเห่าก็ถือเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของเขาซึ่งเจ้าของอย่างเรา ๆ ควรจะต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจการเห่าของสุนัขว่าหมายความว่าอย่างไรบ้าง

การเห่าของสุนัขมีแบบไหนบ้างแต่ละแบบกำลังบอกถึงอะไร

มาเริ่มต้นเรียนรู้การเห่าของสุนัขเพื่อจะได้เข้าใจความต้องการและสิ่งที่สุนัขกำลังจะบอกเราได้มากขึ้น การเห่าบอกอะไรบ้างมีดังต่อไปนี้เลย

  1. การเห่าติดกันเป็นช่วงระยะประมาณ 3 – 4 ครั้งแล้วก็หยุด : แปลได้เลยว่าสุนัขกำลังเจออะไรบางอย่างที่น่าสนใจและอยากจะให้เจ้าของมาดูด้วย เป็นการเห่าเรียกเจ้าของนั่นเอง
  2.  การเห่าติดกันมาก ๆ โทนเสียงระดับกลาง : เป็นการเรียกให้เจ้าของรู้ตัวหรือบอกเพื่อนหมา ๆ ด้วยกันเองถึงบางอย่างที่อันตรายหรือไม่น่าไว้ใจ
  3. การเห่าเสียงต่ำ ๆ ช้า ๆ : สุนัขกำลังได้รับภัยอันตรายอะไรบางอย่าง อยากให้เราช่วย เพราะว่าอันตรายนั้นเข้ามาถึงตัวแล้วนั่นเอง
  4. การเห่า หยุด เห่า หยุด อยู่แบบนั้น : สุนัขกำลังเรียกร้องความสนใจจากใครสักคน จากเจ้าของมันต้องการความรัก อยากให้มีคนลูบหัว อยากมีคนเล่นด้วย
  5.  การเห่าสั้น ๆ ครั้งหนึ่ง ถึงสองครั้ง : เป็นการทักทาย “สวัสดีฮะ!” ประมาณนั้นครับ
  6.  การเห่าครั้งเดียว เมื่อถูกก่อกวน: หมายถึงว่าตอนนี้ต้องการเวลาส่วนตัวอย่ากวนได้ไหม
  7.  การเห่าติดต่อกัน : แปลว่ากำลังอยากจะให้เราเล่นด้วย ลูกสุนัขจะเห่าแบบนี้บ่อย
  8.  เห่าครั้งเดียวสั้น ๆ : เป็นการเรียกเจ้าของกำลังบอกอะไรบางอย่างเช่น “หิวแล้วนะ” หรือ “อยากออกไปเล่น”
  9.  เห่าด้วยโทนเสียงต่ำ ๆ ตามมาด้วยหูตั้ง ขนหลังชี้ หางชู เตรียมตัวสู้ : การเห่าแบบนี้คือ “อย่าเข้ามายุ่งกับฉันนะ”

เมื่อเข้าใจกันแล้วว่าการเห่าของน้องหมาในแต่ละแบบนั้น บ่งบอกถึงอะไรบ้าง สุนัขก็มีวิธีการสื่อสารในแบบของมันเหมือนกันลองไปสังเกตสุนัขที่บ้านของคุณดูว่าเห่าแบบไหนบ้างจะได้ตอบสนองความต้องการของเขาได้ตรงจุด และเข้าใจอารมณ์ของสุนัขมากขึ้น