การป้องกันสัตว์เลี้ยง ช่วงหน้าฝน

ช่วงหน้าฝน ฝนตกทุกวันแบบนี้ เพื่อนๆมีวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างไรกันบ้าง มาแชร์กันหน่อย วันนี้ทาง petsayhi จะมาบอกวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงช่วงหน้าฝนกัน ช่วงหน้าฝนอากาศเปลี่ยน ทั้งฝนตกและความชื้นต่าง ๆ บางทีร่างกายของสัตว์เลี้ยงอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้เจ็บป่วยหรือมีปัญหาด้านผิวหนังได้ เช่นกัน

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ

ในช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่มีภาวะแวดล้อมต่างๆ เหมาะสมในการเพาะตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อโรค ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่มักมากับหน้าฝน ต้องไม่ลืมที่จะพาน้องหมาน้องแมวไปทำวัคซีนป้องกันเชื้อโรคกันนะ โดยเฉพาะน้องหมาน้องแมวที่อายุยังน้อย ยิ่งมีความเสี่ยงสูง

 ดูแลเรื่องอาหารและน้ำของสัตว์เลี้ยง

อากาศที่เปียกชื้นในหน้าฝนจะทำให้อาหารของน้องหมาเกิดการบูดเสียและเกิดเชื้อราได้ง่าย หากใครที่ให้อาหารเม็ด ก่อนจะให้อาหารควรตรวจเช็คให้เรียบร้อยว่าอาหารเม็ดไม่เก่า ไม่ขึ้นรา หรือใครที่ให้อาหารเป็นแบบปรุงเอง ก็ควรทำให้สุกสะอาด ไม่ปล่อยค้างคืน หากสัตว์เลี้ยงที่บ้านเกิดอาการ อาเจียน ท้องเสีย ซึม ก็ควรพาไปพบแพทย์อย่าปล่อยให้น้องมีอาการนานเกินไป

กรงหรือที่อยู่ของน้องหมาต้องไม่เปียกชื้นและไม่อับ

ที่อยู่ของน้องหมาควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก หากบริเวณที่อยู่ของน้องหมาเปียกชื้นควรเช็คให้แห้ง และพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนสาด ทั้งนี้ อาจนำไปสู่ปัญหากลิ่นอับ และทำให้น้องตากฝนไม่สบายได้

 

ระวังเรื่องการ ตากฝนของสัตว์เลี้ยง

การปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝน ไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไร อาจทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยเป็นโรคหวัดหรือปอดบวมได้ อีกทั้งในช่วงหน้าฝน เป็นช่วงที่เห็บหมัดระบาด เมื่อออกไปข้างนอกมีโอกาสที่ติดเห็บหมัดมาด้วย นับว่าเป็นพาหะนำโรคทั้งในแมวและสุนัข จึงควรระมัดระวังอย่าให้สัตว์เลี้ยงตากฝนจะดีกว่า

ดูและผิวหนังของสัตว์เลี้ยงให้ดี

ระบบผิวหนัง ช่วงที่มีความชื้นสูงในหน้าฝน อาจทำเกิดสภาวะอับชื้นก็เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย ซึ่งอาจจะมีตุ่ม ผื่นคัน ยิ่งถ้ามีการติดเชื้อก็จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ หรือเชื้อราได้ ซึ่งจะพบได้บ่อยตามบริเวณใบหูด้านใน ง่ามนิ้วเท้า รอบจมูกหรือรอบตา ควรจะหมั่นดูแลเรื่องผิวหนัง ขน ของเขาให้แห้งอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เปียก หรือชื้น หากพบว่าสุนัขมี ตุ่มคัน เกา สะบัดหูบ่อย ๆ ควรจะรีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะกลายเป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานาน รวมถึงต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและดูแลในปริมาณที่สูงตามมา

 

ระวังเห็บและหมัด

อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุนัขและแมวป่วย  เพราะเห็บเป็นพาหะนำโรค เช่น พยาธิในเม็ดเลือดหรือไข้เห็บ โลหิตจาง และ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ยิ่งช่วงหน้าฝน ที่มีทั้งความร้อน ความชื้น ยังเป็นตัวการแพร่พันธุ์เห็บอย่างดี ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยงให้ดีถ้าพบสัตว์เลี้ยงของเรามีเห็บหรือหมัด ควรหายากำจัดเห็บหมัดมาใช้ หรือพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

ลดความเครียดให้สัตว์เลี้ยง

เมื่อฝนตก ฟ้าร้อง หรือ ฟ้าฝ่า เราควรพาสัตว์เลี้ยงมาไว้ใกล้ตัว เพื่อสร้างความอุ่นใจให้พวกเขาค่ะ เพราะเวลาฝนฟ้าคะนองเสียงดัง อาจทำให้สัตว์เลี้ยงของเราเกิดอาการเครียด และกลัวเสียงดังกล่าว เราจึงควรพาเขามาอยู่ใกล้ๆ หรือ เปิดทีวีเพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจก็ได้

เพื่อนๆคนไหนมีวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงช่วงหน้าฝน มาแชร์กันได้นะครับ

เครดิตรูปภาพ
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Golden_retriever_dirty.jpg
https://pixabay.com/th
http://maxpixel.freegreatpicture.com

เครดิตข้อมูล

สุขภาพดี สร้างได้ด้วยตัวคุณ

วัคซีนสุนัขทำอะไรบ้าง

การทำวัคซีนสำหรับสุนัข เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อจะช่วยให้สุนัขของเราในการป้องกันโรคต่างๆที่เกิดกับสุนัข การทำวัคซีนช่วยให้การผ่อนหนักเป็นเบาได้
เจ้าของน้องสุนัขทุกคนไม่ควรละเลยในการพาน้องไปทำวัคซีน วันนี้เราจะแนะนำวัคซีนสุนัขที่ควรจะให้น้องทำ ตามโปรแกรม

โปรแกรมวัคซีนสำหรับสุนัข

6 สัปดาห์

ตรวจสุขภาพ ถ่ายพยาธิ วัคซีนไข้หัด+ลำไส้อักเสบ

8 สัปดาห์

วัคซีนรวม 5 โรค เข็มที่ 1

12 สัปดาห์

วัคซีนรวม 5 โรค เข็มที่ 2

วัคซีนพิษสุนัขบ้าเข็มที่ 1

16 สัปดาห์

วัคซีนรวม 5 โรค เข็มที่ 3

วัคซีนพิษสุนัขบ้าเข็มที่ 2

กระตุ้นวัคซีน ทุกปี

วัคซีนรวม

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

*โปรแกรมวัคซีนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการพิจารณาของสัตวแพทย์

ทำไมต้องฉีดวัคซีนสุนัข

การทำวัคซีนให้สุนัขจะเป็นการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับตัวสุนัข ทำให้ช่วยลดโอกาสการติดโรค ลดความรุนแรงของโรค ได้

การสังเกตอาการหลังทำวัคซีนสนัข

1.ควรให้สุนัขได้พักและสังเกตอาการ หลังจากได้รับวัคซีน อย่างน้อย 30 นาที (ที่โรงพยาบาล) ถ้ามีอาการแพ้ เช่น ผื่นตามตัว หน้า-ตาบวม คัน  ช็อค ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทัน

2.ภาพหลังจากการทำวัคซีน สุนัขบางตัวอาจมีอาการมีไข้อ่อนๆ ซึมกินอาหารลดลง เจ็บปวดบริเวณที่ฉีด อาจจะบวม ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน จึงแนะนำให้เจ้าของงดอาบน้ำให้สุนัข 7 วัน หลังจากฉีดวัคซีน (แต่หากอาการยังอยู่หลังจาก 48 ชั่วโมง ควรปรึกษาสัตวแพทย์)

3.สุนัขแต่ละตัว อาจมีการตอบสนองต่อวัคซีน ในการสร้างภูมิคุ้มกันแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพสุนัข สายพันธุ์ ของสุนัข ชนิดของวัคซีน* เป็นต้น ดังนั้น การทำวัคซีนควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง

 

เครดิตข้อมูล
Vanguard
โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

เครดิตรูปภาพ
http://www.tomlinsons.com/