พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ acetaminophen เป็นยาระงับปวดและลดไข้ที่ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่ พ.ศ.2436 แต่ได้รับความนิยมเมื่อ 50 ปีหลังจากนั้น (Kolf-Clauw and Keck, 1994) พาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในคน เนื่องจากมีข้อดีกว่าแอสไพรินตรงที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะ และไม่มีผลต่อการเกาะตัวของplatelets จึงไม่ทำให้เกิดแผลหลุมในกระเพาะและไม่ทำให้การแข็งตัวของเลือดเสียไป อย่างไรก็ตามพาราเซตามอลไม่มีผลในการลดอักเสบเหมือนแอสไพริน จึงไม่สามารถใช้ในการลดการอักเสบของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ หรือข้ออักเสบได้ (Hjelle and Grauer, 1986)
จากการที่พาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถซื้อหาได้ทั่วไปโดยไม่ ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ทำให้คนนิยมใช้เพราะหยิบฉวยได้ง่าย และคิดว่าเป็นยาที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ข้อความนี้อาจเป็นจริงในคนเมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำ แต่ไม่เป็นจริงในสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะในแมว ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไวต่อความเป็นพิษจากพาราเซตามอล อาการของความเป็นพิษในแมวอาจสังเกตเห็นได้หลังจากแมวได้รับ regularstrength tablet* เพียงครึ่งเม็ดหรือเพียง163 มิลลิกรัมเท่านั้น (Hjelle and Grauer, 1986) ทั้งนี้อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าของที่เอายาให้แมวกินเพื่อ แก้ไข้
จากสถิติของศูนย์ควบคุมความเป็นพิษในสัตว์แห่งชาติ ที่สหรัฐอเมริกา พบว่า ความเป็นพิษจากยาที่เกิดขึ้นในแมว 50%มีสาเหตุมาจากพาราเซตามอล (Haliburton and Buck, 1983) จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรให้พาราเซตามอลกับแมวไม่ว่าในกรณีใดๆ (Ilkiw and Ratcliffe, 1987)จะเห็นได้ว่าความเป็นพิษในแมวเกิดจากความตั้งใจดีของเจ้าของ แต่ในสุนัขมักเกิดจากการรื้อค้นยาที่เจ้าของเก็บไว้อย่างไม่ระมัดระวัง และกินยาจำนวนมากเข้าไป จนเกิดความเป็นพิษ ซึ่งจะพบเมื่อสุนัขกินพาราเซตามอลในขนาดที่สูงกว่า 200 มก./กก. (Savides et al., 1984)การเปลี่ยนแปลงของยาและการเกิดพิษ
เครดิตข้อมูล
แหล่งที่มา: http://www.vet.chula.ac.th/
เครดิตรูปภาพ
http://www.thetimes.co.uk/